วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หัวหน้างานที่ลูกน้องยอมรับ






ปัญหาหัวหน้างานกับลูกน้องดูเหมือนว่า จะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกองค์กร ทั้งภาคราชการ เอกชน และสถาบันการศึกษา จะมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์กร ในการพัฒนาศักยภาพของหัวหน้างาน
บางองค์กรผู้จัดการหรือหัวหน้าในระดับที่สูงว่า ทำหน้าที่บีบคั้นกดดันเอาแต่ผลงาน ทำตัวเป็นฉลามล่าเหยื่อ ทำให้หัวหน้างานในระดับรองลงมา ก็ถูกกดดันเป็นทอดๆ ไปถึงลูกน้อง ซึ่งแน่นอนว่า มีผลสำเร็จของงานปรากฏให้เห็น แต่เป็นผลสำเร็จที่ไม่ได้เกิดจากการทุ่มเทจิตใจใส่ลงในงาน เมื่อผ่านไประยะหนึ่งที่ ลูกน้องที่ทนรับแรงกดดันไม่ไหว ก่อให้เกิดความผิดพลาดบกพร่องปรากฏในหลายรูปแบบ
หัวหน้างานที่เติบโตต่อๆ กันมา บางครั้งจึงเข้าใจว่า รูปแบบของผู้นำ หรือหัวหน้างานที่องค์กรคาดหวัง คือ การผลักดันบีบอัดให้ลูกน้องทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่เพื่อผลงาน โดยการใช้วาจาเฉือดเฉือนแสดงอำนาจว่า ข้าเป็นหัวหน้างานที่จะชี้หรือสั่งอะไร ลูกน้องต้องสนองเพื่อให้เกิดผลงานที่บริษัทต้องการ มิฉะนั้น ถ้าไม่ทำก็อยู่ไม่ได้ เพราะนี่คือเป้าหมายของบริษัท
ดังนั้น การถ่ายทอดพันธุกรรม คุณลักษณะของผู้นำหรือหัวหน้างาน ส่วนหนึ่งจึงถูกถ่ายทอดจากต้นแบบของหัวหน้าในระดับที่สูงว่า
การให้ความรู้และการอบรม จะไร้ผลไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย หากเจอกับหัวหน้างานที่มุ่งหวังแต่จะสร้างผลงานให้เข้าตาผู้จัดการและผู้บริหาร โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้าในระดับที่สูงว่า ยังแสดงตัวอย่างบทบาทของฉลามล่าเหยื่อ ที่ไม่ใส่ใจว่าลูกน้องจะคิดอย่างไร มีอคติ ลำเอียง ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้น หัวหน้าในระดับรองลงมา ก็จะเข้าใจบทบาทของตนเองที่ต้องเป็นฉลามเช่นกัน หากคิดจะแก้ไขก็ต้องเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนทัศนคติ ดั่ง สุภาษิตสอนนาย...ที่ว่า
ภาษิตของเก่าท่านเล่าขาน  มาแต่ครั้งโบราณมีมากหลาย
เป็นคำกลอนสอนสั่งทั้งหญิงชาย  สุภาษิตสอนนาย ไม่เห็นมี
แม้โชคช่วยอำนวยเป็นนายเขา อย่าเป็นคนหูเบา
ไม่ถ้วนถี่

จับเอาความข้างเดียวเที่ยวพาที ให้พิจารณาความดีที่ผลงาน 


นายที่ดีต้องเอาใจใส่ลูกน้อง คอยสอดส่องทุกข์สุขอยู่ทุกด้าน
คอยช่วยเหลือลูกน้องถ้าต้องการ แต่ไม่ถึงกับจุ้นจ้านจนเกินควร
แม้ลูกน้องทำผิดไม่คิดข่ม พิจารณาเหมาะสมโดยทั่วถ้วน

จงพูดจาว่ากล่าวอย่างนิ่มนวล ไม่ลามรวนเรื่องเก่าให้เนานาน


อันการเตือนนั้นเล่าต้องเข้าท่า ไม่ดุด่าต่อหน้าคนทั่วบ้าน
เรียกไปเตือนสองต่อสองห้องทำงาน เที่ยวโจษขานลับหลังฟังไม่งาม
งานสำเร็จลงก็ด้วยเข้าช่วยกัน ไม่ควรดื้อถือรั้นฟังไม่ห้าม
เป็นนายเขาเอาแต่ใจใครก็ตาม 
ควรฟังความเห็นอื่นบ้างเป็นทางดี


อันการงานทั้งหลายควรจ่ายแจก มีการจัดแบ่งแยกเป็นหน้าที่
หากคนเดียวจะรวบไว้ไม่เข้าที ลูกน้องหรือจะมีกำลังใจเป็นนายเขาต้องขยันหมั่นศึกษา ดูให้เป็นก้าวหน้าทันสมัย
ไม่ล้าหลังห่างเหินจนเกินไป ลูกน้องก้าวหน้าไกลตามไม่ทัน

ไม่จำเป็นต้องศึกษามากกว่าเขา ให้รู้หลักพอเป็นเค้าเขาเชื่อมั่น
แม้เป็นนายรู้จักใช้สบายครัน ไม่จำเป็นต้องฟาดฟันอยู่คนเดียว
เมื่อลูกน้องก้าวหน้าก็อย่าขวาง หรือคิดหาลู่ทางคอยหน่วงเหนี่ยว

ทำทีท่าบึ้งตึงขมึงเกลียว เข้าขับเขี้ยวกันท่าไม่น่ายล


เมื่อมีส่วนร่วมแบ่งไม่แย่งก่อน ลูกน้องต่างเดือดร้อนอยู่ทุกหน
ไม่คิดแต่จะเอาเข้ากระเป๋าตน คิดถึงคนอื่นเขาจึงเข้าการอันหัวหน้าที่ดีมีเมตตา ปรารถนาให้เขาสุขทุกสถาน
กรุณาเติมต่อพอประมาณ ให้เขาผ่านพ้นทุกสุขฤทัย

ประกอบกับมุทิตาคือพาชื่น เห็นคนอื่นก้าวหน้าพาสดใส
ไม่ควรคิดอิจฉาอยู่ในใจ เขาทำได้ดีกว่าน่าจะชม
อีกทั้งอุเบกขาไม่อาฆาต เห็นลูกน้องผิดพลาดไม่ทับถม

คอยจับผิดคิดว่าตามอารมณ์ ไม่เหมาะสมเที่ยวว่าด่าประจาน


หัวหน้าดีนั้นให้เห็นเป็นตัวอย่าง ช่วยเขาทำทุกอย่างจนรอบด้าน
ไม่เอาเปรียบใช้คนอื่นตัวชื่นบาน แล้วเสนอผลงานเพื่อตนเอง
เมื่อปัญหาเกี่ยวไปถึงภายนอก 
ตัวหัวหน้าต้องออกถึงจะเก่ง

เข้ารับผิดชอบด้วยช่วยบรรเลง ลูกน้องเกรงว่าเรานั้นเอางาน


แม้หัวหน้าคนใดได้เช่นนี้ คงจะมีคนรักสมัครสมาน
มีคนขอเป็นลูกน้องเกินต้องการ ใครพบพานก็เป็นบุญเกื้อหนุนเอย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น